ข่าวประชาสัมพันธ์

1. สรุปผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก

  • ผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก

         นางเข็มเพชร เลนะพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) กล่าวถึงผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก ไว้ในพิธีเปิดงานร้อยพลังสร้างสุข เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพ ไว้ดังนี้

        "ปัจจุบัน node สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รุ่นที่ 1 มี 43 ทีมและรุ่นที่ 2 สร้างได้อีก 25 ทีมสามารถขึ้นโครงการได้จำนวน 912 โครงการ กระจายตาม 51 จังหวัดทั่วประเทศ มีผลลัพธ์ตามประเด็นสนับสนุน 6 ประเด็น ดังนี้

       1. ผลลัพธ์ด้านการลดละเลิกแอลกอฮอล์ในงานบุญประเพณีได้ใน 66 ชุมชนเกิดงานบุญปลอดเหล้า 599 งานลดค่าเหล้าได้ 4.95 ล้านบาท 
      2. ผลลัพธ์จากโครงการด้านการจัดการขยะใน 125 ชุมชน ครอบคลุม 13,700 ครัวเรือน ลดขยะในครัวเรือนลงได้ 3 เท่า 
      3. ผลลัพธ์จากโครงการผักปลอดสารเคมีในครัวเรือนเกิดขึ้น 225 ชุมชน 14,266 ครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายซื้อผักได้ 140 บาทต่อครัวเรือนต่อสัปดาห์ 
      4. ผลลัพธ์จากโครงการส่งเสริมบริโภคผักในโรงเรียน 225 โรงเรียนเด็กกินผักเพิ่ม 14408 คน และมีการปรับเมนูอาหารกลางวันเพื่อส่งเสริมให้เด็กกินผักมากขึ้นใน 199 โรงเรียน
      5. ผลลัพธ์จากโครงการโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 170 ชุมชน มีผู้สูงอายุออกกำลังกายสม่ำเสมอ 7,923 คนเกิดพื้นที่ทำกิจกรรมออกกำลังกาย 245 แห่ง 
      6. ผลลัพธ์จากโครงการจัดการจุดเสี่ยงป้องกันอุบัติเหตุใน 83 ชุมชน ทำให้จุดเสี่ยงในชุมชนได้รับการแก้ไข 540 แห่ง อุบัติเหตุลดลงณจุดเสี่ยง 4 เท่า"

หมายเหตุ
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก6) สสส. ได้จัดให้มี หน่วยจัดการร่วมกับ สสส. ในระดับพื้นที่ (Node) หมายถึง หน่วยงาน องค์กร กลุ่มบุคคลหรือบุคคล ที่สนับสนุนและดำเนินงานแทน สสส. มีขอบเขตการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. การค้นหาภาคีรายย่อยเพื่อขยายแนวร่วมการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ
2. การพัฒนาศักยภาพภาคี
3. การติดตามแบบเน้นการเรียนรู้ของผู้ดำเนินโครงการ
4. การถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการ และ
5. การรายงานผลการดำเนินโครงการ

Node กำกับดูแล โครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก ในระยะเวลาดำเนินงาน 10-12 เดือน ภายในวงเงิน ไม่เกิน 50,000 บาท โดยเลือกดำเนินงานเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งจาก 6 ประเด็นที่กำหนดไว้ ได้แก่
(1) การลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญงานประเพณี

(2) การจัดการขยะ 
(3) ส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียน 
(4) การผลิตและบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยในครัวเรือน 
(5) สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน และ 
(6) การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน